ประวัติของโรงเรียนสอนภาษาจีน ฉื่อ อิน

     

ประวัติโรงเรียนสอนภาษาจีน ฉื่อ อิน      13/06/2019

  เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ มีการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  โดยเป็นการคิดริเริ่มของพระอาจารย์จีนปัญญาประชานุสิฐ (ท่าน เจียง)จากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และพระอาจารย์จีนวิเทศธรรมานุสิฐ(ด้ายหมิงขวา ฝ่าจ้าว) วัดพระเขี้ยวแก้ววิหาร ประเทศสิงคโปร์ซึ่งได้มาเยี่ยมเยือนชุมชนคนจีนยูนนาน ณ หมู่บ้านวาวี ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  ทำให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนและลำบากของคนในพื้นที่จึงเกิดความเมตตาต่อประชาชน และเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กในวัยเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษามากกว่าเด็กในพื้นที่ราบทั่วไปพระอาจารย์จึงได้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์เด็กกำพร้ามหาโพธิ์ขึ้น ในศูนย์กลางหมู่บ้านวาวี โดยพระอาจารย์จีนปัญญาประชานุสิฐ (ท่าน เจียง) จากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ทำหน้าที่ในการวางแผนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอน ภาษาจีน ให้ดีขึ้น และสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการสอนภาษาจีนจากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เข้ามาสอนในโรงเรียน ซึ่งพระอาจารย์จีนวิเทศธรรมานุสิฐ(ด้ายหมิงขวา ฝ่าจ้าว) วัดพระเขี้ยวแก้ววิหาร ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ให้อุปถัมภ์ ความช่วยเหลือ  ระดมทุน จัดหางบประมาณ เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับเด็กในพื้นที่  แต่ไม่สามารถดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้

ดังนั้นพระอาจารย์จีนทั้งสองท่านได้คำนึงถึงโอกาสในการเข้าถึงด้านการศึกษาที่เท่าเทียมกันของเด็กในพื้นที่ทั้งตำบลจนกระทั่งเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑  ( ๑๐ ปีที่ผ่านมา) จึงได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนขึ้นอีกหนึ่งแห่ง โดยเลือกพื้นที่ “หมู่บ้านห้วยน้ำเย็น” ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชนกลุ่มน้อยอยู่รวมกันหลากหลายชาติพันธุ์ ซึ่งพระอาจารย์จีนวิเทศธรรมานุสิฐ(ด้ายหมิงขวา ฝ่าจ้าว) วัดพระเขี้ยวแก้ววิหาร ประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ให้อุปถัมภ์ความช่วยเหลือสนับสนุนมาตลอดจุดประสงค์เพื่อเน้นให้เด็กๆชนกลุ่มน้อยทุกชนเผ่าในหมู่บ้านห้วยน้ำเย็น รวมไปถึงหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงมีโอกาสเข้าถึงด้านการศึกษาที่เท่าเทียมกันทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและศาสนา การก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีน ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลวาวี เกิดจากความรักความเมตตาของพระอาจารย์จีนวิเทศธรรมานุสิฐ(ด้ายหมิงขวา ฝ่าจ้าว) วัดพระเขี้ยวแก้ววิหาร ประเทศสิงคโปร์ทั้งสิ้น เป็นความรักความเมตตาที่ไร้พรมแดน โดยส่งมอบความปรารถนาดีให้แก่เด็กในพื้นที่สูงเพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ ประกอบกับการศึกษาภาษาจีนและวัฒนธรรมจีน เป็นการศึกษาต่างประเทศ ภาษาที่สอง ที่ปัจจุบันได้รับการยอมรับและสามารถเชื่อมโยงไปทั่วโลก ไม่แพ้ภาษาอังกฤษ

         นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ พระอาจารย์จีนวิเทศธรรมานุสิฐ(ด้ายหมิงขวา ฝ่าจ้าว) วัดพระเขี้ยวแก้ววิหาร ประเทศสิงคโปร์มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า“การศึกษา” จะสามารถช่วยยก “ระดับฐานะ” และ “ระดับจิตใจ” ของคนให้สูงขึ้นได้อย่างแท้จริงเพราะการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาทุกรูปแบบ  อีกทั้งเป็นการเยียวยาและช่วยเหลือคนในพื้นที่สูงให้หลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างแท้จริง สามารถนำพาสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นไปได้  ถึงแม้จะใช้เวลาอย่างยาวนานกว่า ๒๕ ปี จนถึงปัจจุบัน  เพื่อทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการมอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กๆในพื้นที่สูงมาโดยตลอดนั้น จึงทำให้เด็กในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียง ที่จบการศึกษาออกจากโรงเรียนและหมู่บ้านมีโอกาสไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถได้เท่าเทียมกับเด็กโดยทั่วไป และออกไปประกอบวิชาชีพที่ให้ผลตอบแทนสูง เลี้ยงดูและจุนเจือบุคคลในครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพ

            โรงเรียนสอนภาษาจีน ฉื่อ อิน ของหมู่บ้านห้วยน้ำเย็น เดิมทีใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเมตตาสอนภาษาจีน” ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่โรงเรียนเปิดทำการสอนเป็นวันแรกในวันที่ ๑๗ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๑ จนถึงวันที่ ๒๑ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ “โรงเรียนพระพุทธศาสนา ฉื่อ อิน” ในวันที่๒๒ เดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นการชั่วคราว เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการในโรงเรียน รวมไปถึงพระอาจารย์จีนปัญญาประชานุสิฐ (ท่าน เจียง) จากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)  มรณภาพและพระอาจารย์จีนวิเทศธรรมานุสิฐ(ด้ายหมิงขวา ฝ่าจ้าว) วัดพระเขี้ยวแก้ววิหาร ประเทศสิงคโปร์เกษียณอายุ จากการเป็นคณะกรรมการของโรงเรียนประกอบกับยังไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากกระทรวงศึกษาธิการ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนพระพุทธศาสนา ฉื่อ อิน”  เป็นการชั่วคราว และได้ส่งนายจวง หว่าน เหนิง จากสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปีพุทธศักราช 2551 ถึงพุทธศักราช 2560

ปัจจุบัน โรงเรียนได้ดำเนินการขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พุทธศักราช 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2544 เรียบร้อยแล้ว จึงได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนเอกชนนอกระบบ ประเภทสร้างเสริมทักษะชีวิต โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสอนภาษาจีน ฉื่อ อิน” ตั้งแต่วันที่ 17 เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2561 เป็นต้นไปและมี นางสาวอรรัมภา  โชคดวงดี ดำรงตำแหน่ง ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และผู้บริหารโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เดือนตุลาคม ปีพุทธศักราช 2561 เป็นต้นมาและนักเรียนทุกคนที่เข้าเรียนโรงเรียนสอนภาษาจีน ฉื่อ อิน จะได้รับการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์คือ รักชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์

                ในปีการศึกษา   ๒๕๖๑ ทางโรงเรียนได้จัดการเรียน ๒ ระดับคือ

      .  ระดับปฐมวัย  ๒ ห้องเรียน นักเรียน จำนวน ๔คน

   .  ระดับประถมศึกษา  ๖ ชั้นเรียน (๗ ห้องเรียน) ประกอบด้วย

 2.1 ประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2  ห้องเรียนนักเรียนจำนวน ๖คน

 2.2 ประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน ๓ คน

  2.3  ประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน ๕ คน

  2.4  ประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน ๒๖ คน

2.5  ประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน คน

2.6  ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน ๙ คน

                        รวมนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน ๒๐๓ คน


มีบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย

                .  ผู้อำนวยการโรงเรียน             จำนวน ๑ คน

.ครูในพื้นที่                              จำนวน ๕ คน

๓.ครูจากสาธารณรัฐจีน               จำนวน ๒ คน

๔. นักการภารโรง                       จำนวน ๑ คน

๕. แม่บ้าน                                 จำนวน ๑ คน

รวมทั้งสิ้น จำนวน 10 คน

หมายเหตุ  หมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนมี ดังนี้

                ๑. บ้านห้วยไคร้-------------          -หมู่ที่ ๑๓

                ๒. บ้านห้วยกล้า-------------           หมู่ที่ ๑๘

                ๓. บ้านผาแดงหลวง-----   --          หมู่ที่ ๑๗

                ๔. บ้านใหม่พัฒนา---------             หมู่ที่ ๒๕

               ๕. บ้านจู้จี้--------------   -- --          หมู่ที่ ๑๙

               ๖. บ้านย่านำ---    -------------         หมู่ที่ ๑๖

             ๗. บ้านห้วยขี้เหล็กใหม่----            หมู่ที่ ๙

             ๘. บ้านห้วยมะซาง-------  --          หมู่ที่ ๕

             ๙. บ้านทุ่งพร้าว------------             หมู่ที่ ๗

             ๑๐. บ้านขุ่นสรวย-----------              หมู่ที่ ๑๔

             ๑๑. บ้านห้วยน้ำอุ่น                         หมู่ที่ ๒๑

 


慈音華文學校(泰國)

Ci Yin Chinese School (thailand)

泰北清萊府美穗縣萬偉鄉回南音村11158號郵區57180

158Mu11BaanHuaynamyen Wawee Maesuai Chiangrai57180

13/06/2019


慈音華文學校簡介

慈音華文學校創設於偏遠泰北山區,是本著讓山區孩童有更好的學習華文機會,目前附近有十餘個村莊孩子到本校就讀,該地區曾經有過三所華文學校,因經濟拮据而停辦,創辦前輩不捨該地區孩子放棄學習華文的機會,故佛教界善心人士共同發心創會辦校。建築工程於2007年竣工,購地建校開銷運作一切,由新加坡佛雅寺、金塔寺、昭坤法照長老、新加坡教界十方善心人士共同發心支助圓滿。2008.12.14 學校開幕典禮20181029日得到清萊教育部認統註冊立案

(學校前身)學校開幕前後,助學金有台商信眾護持。校監之任務一切,由真頓長老全權執行。並聘請莊萬能居士擔任校長。當初的點滴愛心至今已經匯集成滾滾的愛的洪流,滋潤在這塊充滿深情的土地上。

  華文教育水準的提昇:學歷的提高,是進步和希望的指標。由於僑委會與台灣真頓長老,新加坡昭坤法照長老慈悲不捨該地區學習中文的機會,故而攜同善心人士共同發心在泰北回南音村創辦佛教慈音學校,讓來自貧窮山區的孩子們有平等的求學機會。學校後方設有完善的教師宿舍,讓國内外的老師們享有一個舒適的棲身之所,安心授業,為培育國家未來的棟樑前進。

  華文師資素質的提高:有優良的教師,才有優質的教育;有優質的教育,才有美好的未來。慈音華文學校的成立,將提昇學生素質列為建校目標之一。預期再十年之後,小學生將提昇至國中程度畢業生。

  面積:七萊多地

  地形:基地山坡地,原為耕耘。                                                           

  景觀:校地前方為河流、村莊、泰佛寺、風光明媚的綠野平疇和一望無際的農田美景;後方左側為村中的泰文學校;右側依次為回凱村、山明水秀,景色宜人。

  社區:回南音村,該村為少數民族村,甲良族、阿卡族最多、華人、傣族、利索族、拉虎族等,建村至今三載,居民一百六十戶,八百五十餘人。於20070512日,即在為泰北少數民族村創設慈音華文學校。

  現況分析:如前所述,萬偉鄉華文學校,最高學級僅至高中,少數民族天資聰穎,一心向學,由於自發性的學習,比當地華人學習的效果更好,每學期排前三名的都是利索族、阿卡族、傣族等,在校生或畢業生成績還是保持在平均85分以上前三名同學,慈音母校還是繼續關心,開放給孩子們回來申請助學金。

  招生計畫:2019年起,開始只招57歲幼稚班兒童,招生二班,每班三十名內,幼稚園到六年級,共有7個年級,10個班級,學生人數共有202位,2019有:一位大陸老師,八位本地老師,兩位助教,校長、廚師、校工共13位。

20160803真公上人圓寂,全體師生頓遭喪師之痛。

  20170308莊萬能居士親自新加坡向法照長老遞呈辭職信,長老接受慈光第一任校長 (莊萬能居士)辭職並准請辭。0513法照長老委派「新加坡慈光福利協會」副執行董事一行三人,其銜法公之諄諄教誨,指示如道法師接任校長一職,重新整頓校務,以孩子們學習為首要。0901法照長老來電打氣,鼓勵法師: 辦教育極富挑戰與艱辛,唯有「捨己為人」。教育勢必要從小紮根,幼苗須培養得宜,得見發芽滋長。1022在四位慈音委員長輩陪同下,到新加坡金塔寺向法照長老接受聘書擔任校長職位。1110校名慈光暫時改為佛教慈音學校,慈光改為慈音「慈音」新校名是結合「慈光」的「慈」和「回南音村」的「音」所取的。慈音學校就坐落在回南音村。『二字更能顯出學校與學校所在村莊之密切關係』。如道以秉持著「幼吾幼以及人之幼」、「人溺己溺」的精神,和全體師生共創「慈音」新格局、新方向。唯由教育才能翻轉人生和成就夢想,也是如道校長千般艱苦,仍堅決辦學的原因和目的。

20171110佛教慈音學校創會主席:昭坤法照長老慈悲,舉辦《慈音嘹亮愛心公益》活動,邀請曼谷榮譽委員:張振豐居士與住新加坡慈音委員:余舔輝、陳忠、曹志強督導共襄盛舉,供僧過百位法師沙彌助學金,附近五所高小泰文學校頒發獎助學金,發放周圍六村村民乾糧,讓大家〔六時吉祥,法喜充滿〕過千人度過溫暖的冬天。

            20180325佛教慈音學校首屆舉辦暑假(我是象王_佛學兒童營)1019佛教慈音學校在法照長老、教育部、善知識等人的慈悲勉勵與協助策劃下,佛教慈音學校經清萊教育部私立教育委員會註冊立案後正式批准為隸屬於清萊教育部私立教育委員會立案學校(慈音華文學校)』圓滿了第一步,十年樹木,百年樹人。教育是富國之本,也是立身之基。如果說,貧困需要救濟解決的,那麼,心靈則需要教育啟迪。心燈亮起,黑暗者去,心手相連,光明遍照。大家要孝親尊師、虛心受教,提升自己,將來成為有用之才,報答國家,回饋社會。亦是長老與長輩們對慈音學子的期望,也是上天賊賦予慈音學子的使命。學校的成功不能只單靠一個人的力量,它還需要大家的支援、認同愛護和積極的參與。

  20190327慶慈音華文學校學子第五屆畢業典禮接(首屆短期出家)功德報答所有謢持慈音華文學校善心人士,生意興隆,福德緣滿。今年特別得到創會主席慈悲,為慈音華文學校孩子們運用科技推廣華文教育,為250位學生採購嘟嘟自我調整閱讀系統。(嘟嘟系統) 是線上華文自主及自我調整學習系統。作為一個自我調整閱讀系統,能夠根據每一個學生的閱讀能力向他們推薦難易度適中的電子書,從而使學生能夠通過閱讀來提高對華文的掌握能力,提供深入思考性問題,激發學生的思考能力,讓他們更能迎接未來的挑戰。擁有數百本基於難度分級的電子書。這些電子書涵蓋了從歷史故事到科學故事等各種題材。書中精美的插畫和動畫使得學生能夠進行互動式學習。今學校取得了政府准證,提供華文、漢語教學讓山區的孩子學習華文,學校打算在不久的將來提供國中部課程。

            每年三月底學期末,慈音學校連續十年來不斷頒發優秀獎學金,本校每年21位優秀生,之外畢業生學長就讀光復中學,學業優異85分以上,慈音不斷繼續栽培,勉力回母校領取優秀獎學金。慈音華文學校創會主席,昭坤法照長老慈悲,在回南音村開發一個教育原頭,十多年慈音行政人員不忘初心,不求回饋只願能結善緣種子,培育出國家棟樑之材與美麗的的世界。



 

ciyin.org @ 2017-2022 All rights reserved.  

 
เว็บสำเร็จรูป
×